การผลิตและใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

         
         วันที่ 13 มีนาคม 2556 สถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคาม นำโดยนายวิรัตน์ แสงแก้ว ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคาม พร้อมคณะข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคาม ร่วมกับ โครงการฟาร์มตัวอย่างในพระราชดำริฯ ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จัดโครงการอบรมหลักสูตร“การผลิตและใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร”
         ปัจจุบันการทำการเกษตรของประเทศไทย มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวนมากซึ่ง มีราคาแพงขึ้นทุกปี สารเคมีที่ใช้มีผลข้างเคียงสะสมใน ดิน น้ำ ผลผลิตทางการเกษตร เป็นอันตรายต่อ ผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสินค้าทางการเกษตรใหม่หันมาผลิตสารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรเพื่อผู้ผลิตเกษตรกร และผู้บริโภคสามารถพัฒนาไปสู่การผลิตอาหารปลอดสารพิษสารมารถแข่งขันในตลาดได้และเป็นการเตรียมความพร้อมผลิตอาหารปลอดภัยเตรียมการเข้าสู้ ตลาดอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 การผลิตสินค้าทางการเกษตรต้องปลอดภัย เพื่อแข่งขันกับกลุ่มสมาชิกอาเซียน การทำการเกษตรในทศวรรษหน้า ผลผลิตทางการสำหรับผู้การบริโภคจะมีคุณภาพเป็นหลัก หรืออาหารปลอดภัยการค้าเน้นด้าน คุณภาพของผลผลิตมากขึ้น การทำการเกษตรด้วยระบบอินทรีย์จะเข้ามามีบทบาททดแทนการใช้ สารเคมี
         จากเหตุผลดังกล่าวสถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคาม และ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ บ้านกำพี้ ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ในฐานะเป็นผู้ส่งเสริมเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร และส่งเสริมให้เป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยจำเป็นต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรครูและนักเรียน ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร รู้จักการผลิตและการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรเพื่ออาหารที่ปลอดภัยและเตรียมผลิตสินค้าทางการเกษตรที่ปลอดภัยข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้ต่อไป
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการผลิตและการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพแก่เกษตรกรหมู่บ้านใกล้เคียงโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ
๒.เพื่อให้เกษตรกรหมู่บ้านใกล้เคียงโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตัวเองได้ ในการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
3.เพื่อให้เกษตรกรหมู่บ้านใกล้เคียง เข้ามาเรียนรู้ระบบการปลูกพืชแบบปลอดภัย ในโครงการฟาร์ม ตัวอย่างตามพระราชดำริฯ
4.เกษตรกรมีความรู้และความใจ เรื่องจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิต
เป้าหมาย
ตัวแทนเกษตรกรใน 4 หมู่บ้าน ครูและนักเรียน รวม 80 ราย
ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
1.บ้านกำพี้ หมู่ 1 ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 10 ราย
2.บ้านแดงน้อย หมู่ 2 ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 10 ราย
3.บ้านเหล่ากา หมู่ 3 ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 10 ราย
4.บ้านเจริญศิลป์ หมู่ 11 ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 10 ราย
5.บ้านกำพี้ หมู่ 12 ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 10 ราย
6.ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านกำพี้ จำนวน 30 ราย

วิธีการฝึกอบรม
๑.การบรรยาย
- ดิน การปรับปรุงดิน และการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์
- การผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้ สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.1
- การผลิตน้ำหมักชีวภาพโดยใช้ สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.2
- การการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุของโรคพืช โดยใช้ สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.3
- การผลิตสารป้องกันและขับไล่แมลงโดยใช้ สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.7
- การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
- ปุ๋ยพืชสดเพื่อการปรับปรุงดิน
- หญ้าแฝก เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
๒. ฝึกปฏิบัติ
- ฝึกปฏิบัติการผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้ สารเร่งซุปเปอร์ พด.1
- ฝึกปฏิบัติการผลิตทำน้ำหมักชีวภาพโดยใช้ สารเร่งซุปเปอร์ พด.2
- การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุของโรคพืช โดยใช้ สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.3
- ฝึกปฏิบัติการผลติสารป้องกันและขับไล่แมลงโดยใช้ สารเร่งซุปเปอร์ พด.7
- ฝึกปฏิบัติการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-ฟื้นฟูดินและรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น มีความยั่งยืนทางการเกษตร
-การใช้สารเคมีทางการเกษตรลดลง ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้
-ผลผลิตสินค้าการเกษตรมีความปลอดต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค รสชาติดีมีคุณภาพ

นายวิรัตน์ แสงแก้ว ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคาม กล่าวถึงรายละเอียดโครงการฯ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ และอื่นๆต่อเกษตรกร
สถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคามสนับสนุนผลิตพันธ์สารเร่ง พด. ถังหมัก และกากน้ำตาลแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
นางสาวมุกดารัศมิ์ สุวรรณพันธ์ นักวิชาการเกษตร สถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคาม กำลังบรรยายให้ความรู้แก่เกษตรกร
นางสาววนิดา พานิกร นักวิชาการเกษตรชำนาญการ และนางสาวณพมาศ พัฒน์ศักดิ์ นักวิชาการเกษตร กำลังบรรยายให้ความรู้แก่เกษตรกร
นางสาวนิภาวรรณ์ โพธิสุพรรณ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กำลังบรรยายให้ความรู้แก่เกษตรกร
นายปราโมทย์ เพิ่มนาม กำลังบรรยายให้ความรู้แก่เกษตรกร ในเรื่องการใช้เร่งพด.1 และพด.3
นางสาวกิติยา อารีป้อม นักวิชาการเกษตรกำลังบรรยายให้ความรู้แก่เกษตรกร ในเรื่องการใช้สารเร่งพด.2
นางสาวมุกดารัศมิ์ สุวรรณพันธ์ นักวิชาการเกษตร กำลังอธิบายเกี่ยวการใช้สารขับไล่แมลงด้วย พด.7
นางสาวณพมาศ พัฒน์ศักดิ์ นักวิชาการเกษตรนักวิชาการเกษตร กำลังอธิบายเกี่ยวกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด